[สำหรับภาษาไทยเลื่อนลงด้านล่าง]

 

Press Release 

226 Civil Society Organisations Demand Thai Government to Recognise the Right to Community Land Use of Ban Sapwai 

*Demand women peasants have first right to land*

*Demand Thai Government to have rights-based approach to forest reclamation*

1 July 2019 

Chiang Mai, Thailand

226 civil society organisations and human rights defenders  globally have demanded that the Thai government drop all charges against 14 land and human rights defenders in Ban Sapwai, Chaiyaphum, who are currently facing disproportionate imprisonment and fines exceeding one million Thai Baht (approximately USD 32,300). They were found guilty in August last year by the first court for breaching Thailand’s Forest Act and National Park Act despite evidence qualifying for  exemption from prosecution as poor, landless and low-income groups. 

The statement, signed by civil society organisations focusing on women’s rights, environment, and land rights, among others, also demands that the Thai government scrap the Forest Master Plan, NCPO Order 64/2014 and similar NCPO orders that fail to protect the people and communities’ interest, rights and sovereignty. “The Thai government must respect the 14 land and human rights defenders from Ban Sapwai and uphold their right to community land use. These are communities who have lived and tilled this land long before any and all forest reclamation plans and policies. ” said Pranom Somwong, Protection International, Thailand. 

In May and June 2019, the Appeals Court has so far reaffirmed the sentences for nine defendants out of 14 in Ban Sapwai, even though the Office of the Prime Minister and a task force is reviewing their rights for community land use. Five more women land and human rights defenders are due to hear their verdicts on 2 and 3 July.  

Ban Sapwai is one of the thousand villages throughout Thailand being affected by the Thai government’s “forest reclamation” policies. Issued in 2014 by the National Council for Peace and Order (NCPO), the order no.64/2014 and 66/2014 aim to increase the national forest land from 31% to 40% by evicting those using the lands. However as of 2015, the NGO Committee on Development has found that only 2% of the cases have been filed/pursued against large businesses and investors, while the rest are against small-scale peasants. “The government’s environmental commitment should ensure that it does not come at the cost of women peasants’ livelihood, but instead should aim to cease fossil fuels and development projects that do not benefit the people,” said Kavita Naidu, Asia Pacific Forum on Women, Law and Development (APWLD), Thailand.

At the same time, according to Land Watch Thai, in the past five years, the Thai Junta has given away 6,243 Rai (approx. 999 Hectares) of forest conservation land to  large corporations including Thai Cement company for coal mining and for Special Economic Zones in Tak province. “It is contradictory that women peasants are faced with criminal punishment and have to shoulder hefty fines for ‘environmental damage fee’ for small scale farming, while large extractive corporations have a free pass from the government to use forest land for polluting the environment at a worse scale,” said Suluck Fai Lamubol, Asia Pacific Forum on Women, Law and Development (APWLD), Thailand. 

The global human rights community urgently asks the Thai Government to demonstrate its commitment to protecting the Thai people and recognise the important role women land and human rights defenders play in saving the planet.

Further Reading

  1. Sign-on Statement, 1st July: Sign-on Statement of Support to Women Land and Human Rights Defenders in Ban Sapwai community (Link to be updated)
  2. Press Release, 12th June: Drop All Charges Against Land and Human Rights Defenders from Ban Sapwai, Thailand
  3. Joint Statement, 25th May: Human Rights Groups Urge Thai Government to Release Nittaya Muangklang, Women Human Rights Defenders Working on Land Rights Issues

For More Information Contact

Suluck (Fai) Lamubol

fai@apwld.org

Pranom Somwong

psomwong@protectioninternational.org 


 

ใบแถลงข่าว

องค์กรภาคประชาสังคม 226 แห่งทั่วโลก เรียกร้องรัฐบาลไทยให้รับรองสิทธิในที่ดินของชุมชน
ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและที่ดินบ้านซับหวาย

1 กรกฎาคม 2562 

เชียงใหม่ ประเทศไทย 

องค์กรภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน 226 องค์กรทั่วโลก เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ยกเลิกการดำเนินคดีในทุกข้อหาต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและที่ดิน 14 คนจากบ้านซับหวาย จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งกำลังถูกสั่งจำคุกอย่างไม่ได้สัดส่วนกับความผิด และถูกปรับสูงถึงกว่าหนึ่งล้านบาท ทั้งนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า พวกเขามีความผิดเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ในข้อหาละเมิดพระราชบัญญัติป่าไม้และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ แม้เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับการยกเว้นจากการดำเนินคดี ในฐานะเป็นกลุ่มคนจน ไร้ที่ดิน และมีรายได้ต่ำ 

แถลงการณ์ซึ่งลงนามโดยองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านสิทธิสตรี สิ่งแวดล้อม และสิทธิในที่ดิน เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ยกเลิกแผนแม่บทป่าไม้ตามคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 และคำสั่งคสช.อื่น ๆ เนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิประชาชน “รัฐบาลไทยต้องเคารพนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและที่ดิน 14 คนจากบ้านซับหวาย และคุ้มครองสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชน เนื่องจากชุมชนเหล่านี้อาศัยอยู่และทำกินในที่ดิน นานก่อนหน้าที่จะมีแผนและนโยบายเพื่อฟื้นฟูผืนป่าใด ๆ” ปรานม สมวงศ์ โพรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว 

ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2562 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำเลย 9 คนจาก 14 คนจากบ้านซับหวาย แม้ว่าสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะทำงานอยู่ระหว่างตรวจสอบสิทธิและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชน มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและที่ดินอีกห้าคน มีกำหนดฟังคำพิพากษาในวันที่ 2 และ 3 กรกฎาคม  

บ้านซับหวายเป็นหนึ่งในหลายพันหมู่บ้านทั่วประเทศไทย ซึ่งได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาลไทย ที่ถูกกำหนดขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อปี 2557 ตามคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557 มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าทั่วประเทศจาก 31% เป็น 40% โดยการยึดคืนที่ดินที่ถูกที่ใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ดีจนถึงปี 2558 คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนพบว่า มีการดำเนินคดีเพียง 2% ต่อนายทุนและบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ โดยการดำเนินคดีเพื่อไล่รื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเกษตรกรรายย่อย “พันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลไม่ควรเกิดขึ้นแบบที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของเกษตรกรหญิง หากแต่รัฐบาลไทมึ่งยุติการใช้พลังงานสกปรก และโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ไม่เป็นคุณต่อประชาชน” กวิตา นายทู จาก APWLD กล่าว

ในเวลาเดียวกัน จากข้อมูลขององค์กร Land Watch Thai ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา รัฐบาลทหารได้จัดสรรพื้นที่ป่าสงวน 6,243 ไร่ ให้กับบริษัทขนาดใหญ่ รวมทั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เพื่อจัดทำโครงการเหมืองแร่ถ่านหิน และเพื่อทำเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดตาก “เป็นเรื่องที่ขัดแย้งกัน ในเมื่อเกษตรกรหญิงต้องถูกลงโทษอาญาและต้องจ่ายค่าปรับมหาศาลเพื่อเป็น ‘ค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อม’ อันเป็นผลมาจากการทำเกษตรรายย่อย แต่บริษัทเหมืองแร่ขนาดใหญ่กลับสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าของรัฐบาลได้อย่างเสรี ก่อให้เกิดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายยิ่งขึ้น” สุลักษณ์ หลำอุบล จาก APWLD กล่าว

ประชาคมสิทธิมนุษยชนระดับโลก เรียกร้องอย่างเร่งด่วนให้รัฐบาลไทย แสดงเจตจำนงที่จะคุ้มครองประชาชนคนไทย และยอมรับบทบาทที่สำคัญของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและที่ดินในการต่อสู้เรื่องสิทธิชุมชน

เอกสารเพิ่มเติม 

  1. แถลงการณ์เพื่อลงนาม วันที่ 1 กรกฎาคม แถลงการณ์สนับสนุนผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและที่ดิน บ้านซับหวาย
  2. ใบแถลงข่าว 12 มิถุนายน ยกเลิกการดำเนินคดีทุกข้อหาต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและที่ดินจากบ้านซับหวาย ประเทศไทย
  3. แถลงการณ์ร่วม วันที่ 25 พฤษภาคม กลุ่มสิทธิมนุษยชนกระตุ้นรัฐบาลไทยให้ปล่อยตัวนิตยา ม่วงกลาง ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำงานในประเด็นสิทธิในที่ดิน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ 

สุลักษณ์ หลำอุบล

fai@apwld.org

ปรานม สมวงศ์ 

psomwong@protectioninternational.org