Solidarity Statement

This statement originates from the solidarity activity held at Ban Haeng, Lampang on June 9, 2016 organized by Asia Pacific Forum on Women, Law and Development (APWLD), Protection International (PI) and Asia Indigenous Peoples Pact (AIPP) which was attended by more than 100 villagers, the communitybased Rak Ban Heng organisation and human rights defenders from nine (9) countries[1]

Photo credit: Alexandra Salmon-Lefranc Gennai

WE, the undersigned members of Asia Pacific civil society, representing different constituencies, movements and organisations, express our solidarity with the Ban Haeng community opposing the coal mine in Tambon Ban Haeng, Ngao District, Lampang and condemn the threats and harassment committed against the villagers and community organisers in the area.

Since 2010, the community members of Ban Haeng have been vocal in their opposition to the proposed coal mining project in their area. In the absence of due process and genuine community consultation, the people living and farming the area have organized into the Rak Ban Heng Conservation Group. The group aims to ensure the conservation of the forests, natural resources, the environment, community and traditional culture and values. The community is steadfast in opposing the lignite mining because of the destructive nature of the project which is expected to have a huge impact on the health and livelihood of the community.

Despite community resistance, a mining concession was granted to Green Yellow Co. Ltd. in August 2015 by the Ministry of Industry. On October 22, 2015, 386 villagers filed a complaint at the Chiang Mai Administrative Court, requesting the court to revoke the concession permit and to issue a temporary injunction against mining operations in the village. As the exploratory concession expires in August 2016, the tensions between the corporation and the State on the one hand and the community on the other continue to rise.

Various forms of intimidation, including close physical surveillance by unidentified men, harassment from military officers, threats of death and enforced disappearance have been made to Women Human Rights Defenders (WHRDs). Among the WHRDs who have experienced harassment is Waewrin Buangern who has pending criminal complaints against her but to date has not received sufficient assistance from the Thai Justice Fund[2] to pay for bail and legal fees.

This pattern of harassing environmental and women human rights defenders is not unique to Ban Haeng. In 2014, Southeast Asia was considered among the riskiest places to be a human rights activist, with 21 recorded killings in Thailand alone.[3] Last week, on World Environmental Day, three United Nations Special Rapporteurs highlighted the alarming trend of targeting environmental human rights defenders “as if they were enemies of the State”[4]. They urged states to meet their obligations to protect environmental rights, defenders and members of marginalized and vulnerable communities.[5]

The struggle in Ban Haeng contributes to global campaigns for climate justice, energy democracy and Development Justice. The solidarity activity held in Ban Haeng amplifies the call for a feminist fossil fuel free future – a future that empowers women; a future that paves the way for redistribution of power from the elite to the many; and a future that is free from dirty energies and dirty, exploitative economies.

DSC08223

Lignite is the dirtiest of all fossil fuels. It creates dirty, dangerous environments locally and emits high levels of carbon emissions. If we are to restrict global warming to 1.5 degrees above preindustrial levels (the target set in the Paris Agreement), 80% of fossil fuel reserves must stay underground[6]. As a result, no new fossil fuel power plants should be allowed while decentralised, locally-owned, clean and renewable energy projects should be promoted.
DSC08189

The event in Ban Haeng is part of the Women’s Global Call for Climate Justice[7] where women from every region in the world are demanding climate justice now!

In solidarity with the women leaders and the villagers of Ban Haeng, we support the call of the villagers and community-based organizations to live in peace in the land they have lived in for generations and to craft their own development agenda. The people of Ban Haeng should not be deprived of their right to their lands in order to accommodate a project which has negative impacts on their livelihood and the environment.

A.Gennai_Solidarity Action in Ban Haeng_2016-0190

Photo credit: Alexandra Salmon-Lefranc Gennai

We join the people of Ban Haeng in their efforts to protect the community’s livelihoods, local environment, and community rights to participation in public affairs. We stand with the villagers in denouncing a development agenda that is beneficial only to the elite and causes irreversible damage on the environment. We call on the Thai Government and local authorities to revoke the concession permit granted to Green Yellow Co. Ltd., to withdraw all charges against community leaders and to work with the community to achieve Development Justice.

DSC08481

[1] Bangladesh, Burma, India, Indonesia, Laos, Nepal, Philippines, Taiwan and Thailand.

[2] The Justice Fund is a public fund used to provide legal aid and bail funds to low income defendants. It is a critical tool in advancing access to justice in Thailand but must be available to all defendants. http://thailand.prd.go.th/ewt_news.php?nid=1707&filename=index

[3] Damian Carington, Berta Cáceres one of hundreds of land protesters murdered in last decade, The Guardian, Mar. 4, 2016, available at http://www.theguardian.com/environment/2016/mar/04/berta-caceres-environmental-activists-murdered-global

[4] United Nations Human Rights, A deadly undertaking” – UN experts urge all Governments to protect environmental rights defenders, Jun. 2, 2016 available at http://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/DisplayNews.aspx?NewsID=20052&LangID=E#sthash.ScrBiOOh.dpuf

[5] Id.

[6]http://www.yesmagazine.org/issues/life-after-oil/why-we-need-to-keep-80-percent-of-fossil-fuels-in-the-ground-20160215

[7] See The Call available at http://womenclimatejustice.org/the-call-english-2/

——

แถลงการณ์ให้ความสนับสนุน

แถลงการณ์ฉบับนี้เป็นผลมาจากการทำกิจกรรมเพื่อให้กำลังใจที่บ้านแหง จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 เป็นการจัดงานโดยสมาคมผู้หญิง กฎหมาย และการพัฒนาแห่งเอเซียแปซิฟิก (Asia Pacific Forum on Women, Law and Development – APWLD), Protection International (PI), Asia Indigenous Peoples Pact (AIPP) และมีผู้เข้าร่วมเป็นชาวบ้านกว่า 100 คนจากกลุ่มรักษ์บ้านแหงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากเก้าประเทศ[1]

พวกเราซึ่งลงนามในแถลงการณ์เป็นสมาชิกภาคประชาสังคมในเอเชียแปซิฟิก เป็นตัวแทนของหลายกลุ่มคน หลายขบวนการและหน่วยงาน เราขอให้กำลังใจกับชาวบ้านแหงที่ต่อต้านการทำเหมืองถ่านหินใน ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง และประณามการข่มขู่และคุกคามต่อชาวบ้านและแกนนำชุมชนในพื้นที่

นับแต่ปี 2553 ชาวบ้านแหงได้แสดงการต่อต้านโครงการเหมืองแร่ในพื้นที่ของตนอย่างเปิดเผย เนื่องจากไม่ได้ผ่านกระบวนการอันควรตามกฎหมาย และปราศจากการปรึกษาหารืออย่างจริงจังกับชุมชน เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่และเป็นเกษตรกรในพื้นที่รวมตัวกันในนามกลุ่มรักษ์บ้านแหง โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ชุมชน และวัฒนธรรมและคุณค่าตามจารีต ทางชุมชนได้ต่อต้านอย่างเข้มแข็งกับโครงการเหมืองลิกไนต์ เนื่องจากมีผลกระทบที่ค่อนข้างรุนแรงทั้งด้านสุขภาพและการประกอบอาชีพของคนในชุมชน

แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านจากชุมชน แต่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้สัมปทานการทำเหมืองกับบริษัท เขียวเหลือง จำกัดเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ในวันที่ 22 ตุลาคม 2558 ชาวบ้าน 386 คนจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ขอให้เพิกถอนใบอนุญาตสัมปทาน และให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้มีการทำเหมืองแร่ในหมู่บ้าน ภายหลังสัมปทานการสำรวจจะหมดอายุลงในเดือนสิงหาคม 2559 คาดว่าความตึงเครียดระหว่างบรรษัทกับรัฐฝ่ายหนึ่ง กับทางชุมชนจะเพิ่มขึ้นต่อไป

ที่ผ่านมามีการใช้การคุกคามหลายรูปแบบ ทั้งการถูกสะกดรอยติดตามตัวโดยชายฉกรรจ์ที่ไม่ทราบชื่อ การใช้เจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาคุกคาม การขู่ฆ่า และการขู่จะอุ้มหายต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรี โดยในบรรดานักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรีซึ่งถูกคุกคาม ประกอบด้วย น.ส.แววรินทร์ บัวเงิน ที่ในปัจจุบันถูกดำเนินคดีอาญา แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มประสิทธิภาพจากกองทุนยุติธรรม[2] เพื่อให้ได้รับการประกันตัวและความช่วยเหลือด้านกฎหมาย

แบบแผนการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นสตรีที่บ้านแหงไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อปี 2557 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยมากสุดสำหรับนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน เฉพาะประเทศไทยมีข้อมูลนักเคลื่อนไหวที่ถูกสังหาร 21 กรณี[3] เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลก ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติสามท่าน เน้นย้ำถึงแนวโน้มที่น่าตกใจของการมุ่งโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม “ราวกับพวกเขาเป็นศัตรูของรัฐ”[4] พวกเขายังกระตุ้นให้รัฐปฏิบัติตามพันธกรณีที่จะต้องคุ้มครองสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม นักปกป้องสิ่งแวดล้อม และชาวบ้านในชุมชนชายขอบที่มีความเสี่ยง[5]

การต่อสู้ที่บ้านแหงมีส่วนสนับสนุนการรณรงค์ระดับโลกเพื่อให้เกิดความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ ประชาธิปไตยด้านพลังงาน และความยุติธรรมด้านการพัฒนา การจัดกิจกรรมให้กำลังใจที่บ้านแหงสะท้อนถึงข้อเรียกร้องให้มีอนาคตแบบสตรีนิยมที่ปลอดจากเชื้อเพลิงฟอสซิล กล่าวคือเป็นอนาคตที่สร้างความเข้มแข็งให้สตรี เป็นอนาคตที่มุ่งไปสู่การกระจายพลังงานจากเงื้อมมือของชนชั้นนำให้กระจายไปสู่มหาชนจำนวนมาก และอนาคตที่ปลอดจากพลังงานสกปรกและเศรษฐกิจสกปรกที่มุ่งเอาเปรียบ

ลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สกปรกมากสุด ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่สกปรกและอันตรายในพื้นที่ และเป็นตัวการปล่อยคาร์บอนในระดับสูง หากเราต้องการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้ร้อนเกิน 1.5 องศาเมื่อเทียบกับช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม (ซึ่งเป็นเป้าหมายที่กำหนดตามความตกลงปารีส) เราต้องดูแลให้ไม่มีการขุดเอาเชื้อเพลิงฟอสซิลสำรองอีก 80% ขึ้นมาใช้[6] ด้วยเหตุดังกล่าว ไม่ควรอนุญาตให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลแห่งใหม่ ในขณะเดียวกันให้ส่งเสริมโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ทำในท้องถิ่นและสะอาด

กิจกรรมที่บ้านแหงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเรียกร้องระดับโลกของสตรีให้มีความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ (Women’s Global Call for Climate Justice)[7] โดยสตรีจากทุกภูมิภาคในโลกเรียกร้องให้มีความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศโดยทันที!

พวกเราขอให้กำลังใจแกนนำสตรีและชาวบ้านคนอื่น ๆ ที่บ้านแหง เราสนับสนุนข้อเรียกร้องของชาวบ้านและกลุ่มในชุมชนที่จะอยู่ในที่ดินของตนอย่างสันติ เป็นที่ดินที่พวกเขาอาศัยอยู่มาหลายรุ่นคน และให้สามารถกำหนดวาระการพัฒนาของตนเองได้ ชาวบ้านแหงไม่ควรถูกละเมิดสิทธิในที่ดินเพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับโครงการ ซึ่งจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการดำรงชีพและสิ่งแวดล้อมของพวกเขา

เราขอสนับสนุนชาวบ้านแหงในความพยายามคุ้มครองอาชีพ สภาพแวดล้อม และสิทธิของชุมชนที่จะมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ เรายืนหยัดเคียงข้างชาวบ้านในการประณามวาระการพัฒนาซึ่งเป็นประโยชน์เฉพาะชนชั้นนำ และทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขกลับคืนต่อสิ่งแวดล้อม เราเรียกร้องรัฐบาลไทยและหน่วยงานในท้องถิ่นให้ยกเลิกสัมปทานเหมืองแร่ที่มีให้กับบริษัท เขียวเหลือง จำกัด และให้ถอนฟ้องคดีใด ๆ ต่อแกนนำชุมชน และให้ร่วมมือกับชุมชนเพื่อบรรลุความยุติธรรมด้านการพัฒนา

[1] บังคลาเทศ พม่า อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว เนปาล ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และไทย

[2] กองทุนยุติธรรมเป็นกองทุนของรัฐที่ให้ความสนับสนุนด้านกฎหมายและการประกันตัวสำหรับจำเลยซึ่งมีรายได้น้อย เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมในไทย และต้องจัดให้จำเลยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ http://thailand.prd.go.th/ewt_news.php?nid=1707&filename=index

[3] Damian Carington, Berta Cáceres one of hundreds of land protesters murdered in last decade, The Guardian, 4 มีนาคม 2559 จาก http://www.theguardian.com/environment/2016/mar/04/berta-caceres-environmental-activists-murdered-global

[4] United Nations Human Rights, A deadly undertaking” – UN experts urge all Governments to protect environmental rights defenders, 2 มิถุนายน 2559 จาก http://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/DisplayNews.aspx?NewsID=20052&LangID=E#sthash.ScrBiOOh.dpuf

[5] อ้างแล้ว

[6] http://www.yesmagazine.org/issues/life-after-oil/why-we-need-to-keep-80-percent-of-fossil-fuels-in-the-ground-20160215

[7] โปรดดู ข้อเรียกร้อง ได้ที่  http://womenclimatejustice.org/the-call-english-2/