24 July 2018
Bangkok, Thailand

Women’s groups from the region representing farmers’ rights, workers rights, land rights, national resource rights, indigenous rights, minorities’ and labour rights joined the 1.5 hour civil society stakeholder consultations with Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) negotiating countries in Bangkok yesterday. ASEAN and its six trading partners China, India, Japan, South Korea, Australia and New Zealand are currently holding their 23rd round of negotiation.

Civil society groups were initially promised more time to express their concerns, however were subsequently told that they had less time. “Is this the value of human rights and peoples’ engagements and participation? Civil societies, media, parliamentarians and even local governments have been hardly given any access to this negotiation, in a process already bereft of transparency,” said Dinda Nuurannisaa Yura, Solidaritas Perempuan, Indonesia. “RCEP impacts more than 50% of the world’s population and is being negotiated without the knowledge of this population. For many governments negotiating this, RCEP might be about cost and benefit, about selling or buying, about letters and numbers. However, for women and many other marginalised communities, it is about our life and death.”

“Trade liberalisation over the last several decades has seen women’s wages suppressed for corporations’ maximum profits. Health care privatisation or budget cuts in public services have led to women paying more for them or a double burden because they cannot afford to pay for needed health services. All this has led us to a world where just eight men own the same as the world’s bottom half, many of whom are women,” said Joms Salvador, Gabriela National Alliance of Women, Philippines.

While governments acknowledge that these inequalities exist and globalisation has widened the gap between the rich and the poor, both in developing as well as developed countries, they have also expressed their inabilities to reverse it. “If our governments recognise that this current system no longer works, why are we maintaining it?” added Joms Salvador.

People protesting against the Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) in Manila, Philippines.

The RCEP is also expected to contain an investment provision known as the Investor State Dispute Settlement (ISDS) – one which has fallen under wide criticism both within RCEP countries and globally. “ISDS allows foreign corporations to sue governments when they attempt to regulate corporations, protect the environment, provide public services, protect public health or introduce affirmative action for women. This is a corporatocracy, not a democracy,” said Pranom Somwong, representative of Protection International Thailand. Businesses also met with the negotiators separately though no information of that business meeting was shared. Past negotiation rounds have seen businesses getting a significant amount of more time than civil societies, sometimes, as much as an entire day.

Misun Woo, Regional Coordinator of Asia Pacific Forum on Women, Law and Development (APWLD), Thailand added, “W(om)E(n) the people as sovereign power must know what this RCEP really stands for – whether it is to facilitate a ‘free’ trade based on people’s rights and needs; or rather to maximise corporate interest and power.  The current negotiations indicate it’s for the latter as it is done in a complete secrecy behind people’s backs while giving information and decision making access to corporations. We must end this political, corporate hypocrisy. Women have been at the heart of the movements to halt the deadly advances of the World Trade Organisation (WTO). We will use the same solidarity to stop the RCEP and be the power to make decisions over our own lives and future.”

The women’s groups strongly reject RCEP as it reinforces a destructive development model that the existing free trade agreements and the policies of liberalisation, privatisation and globalisation have inflicted upon the world’s poor and particularly poor women. Women’s groups urge governments to realise a trade agenda based on the principles of international cooperation and solidarity that truly advances Development Justice.

About RCEP

Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) is a trade agreement between ASEAN and it’s six trading partners China, India, Japan, South Korea, Australia and New Zealand. Further analysis about RCEP’s impact on women is available here in Thai and English languages. Watch this and this video campaigns that highlight concerns about trading away human rights.

About APWLD

Asia Pacific Forum on Women, Law and Development (APWLD), a leading network of feminist organisations and grassroots activists in Asia Pacific. Our over 230 members represent groups of diverse women from 27 countries in Asia Pacific. Over the past 31 years, APWLD has actively worked towards advancing women’s human rights and Development Justice. We are an independent, non-governmental, non-profit organisation and hold consultative status with the United Nations Economic and Social Council.

Facebook: apwld.ngo  Twitter:@apwld, Instagram: apwld_

For further information, please contact:


กลุ่มผู้หญิงกังวลต่อความตกลง RCEP และผลกระทบต่อสิทธิประชาชน

24 กรกฎาคม 2561
กรุงเทพฯ ประเทศไทย

กลุ่มภาคประชาสังคมเรื่องสิทธิผู้หญิงจากในภูมิภาค ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มเกษตรกร คนงาน กลุ่มรณรงค์สิทธิในที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มชนพื้นเมือง ได้เข้าร่วมในการประชุมปรึกษาหารือของภาคประชาสังคมเป็นเวลา 1.5 ชั่วโมง ในระหว่างการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership – RCEP) รอบที่ 23 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยเป็นการประชุมที่ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ จากอาเซียน และพันธมิตรหลักทางการค้าหกประเทศได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ก่อนหน้านี้องค์กรภาคประชาสังคมได้รับแจ้งว่าจะมีเวลามากกว่านี้ในการแสดงข้อกังวล แต่ต่อมาได้รับแจ้งว่าจะมีเวลาพูดน้อยลง

“สิทธิมนุษยชน และความเกี่ยวข้องและการมีส่วนร่วมของประชาชน มีคุณค่าเพียงเท่านี้หรือ? องค์กรภาคประชาสังคม สื่อมวลชน สมาชิกรัฐสภา และรัฐบาลประเทศต่าง ๆ แทบเข้าถึงการเจรจาเหล่านี้ไม่ได้เลย ซึ่งอันที่จริงก็เป็นกระบวนการที่ขาดความโปร่งใสอยู่แล้ว” Dinda Nuurannisaa Yura, จากองค์กร Solidaritas Perempuan ประเทศอินโดนีเซียกล่าว “ความตกลง RCEP ส่งผลกระทบกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก และผ่านการเจรจาโดยประชาชนไม่มีส่วนรู้เห็น สำหรับรัฐบาลหลายประเทศที่เข้าร่วมการเจรจา ความตกลง RCEP อาจเป็นแค่เรื่องของต้นทุนและกำไร เรื่องของการค้าการขาย หรือเรื่องของสถิติและตัวเลข แต่สำหรับผู้หญิงและชุมชนชายขอบจำนวนมาก มันเป็นเรื่องระหว่างความเป็นและความตาย

“การเปิดเสรีทางการค้าในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้มีการกดค่าแรงผู้หญิงเพื่อแปรเป็นกำไรสูงสุดของบรรษัท การแปรรูปให้เป็นของเอกชนและการลดบริการสาธารณะ ส่งผลให้ผู้หญิงต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อหาบริการเหล่านี้ หรือทำให้ผู้หญิงมีภาระเพิ่มเป็นสองเท่าส่งผลให้เกิดโลกที่มีความเหลื่อมล้ำมหาที่ซึ่งผู้ชายมหาเศรษฐีแปดคนมีทรัพย์สินเท่ากับประชากรอีกครึ่งหนึ่งของโลกรวมกัน ซึ่งหลายคนเป็นผู้หญิง” Joms Salvador องค์กร Gabriela National Alliance of Women ประเทศฟิลิปปินส์กล่าว
แม้รัฐบาลยอมรับว่ามีความไม่เท่าเทียมเช่นนี้อยู่จริง และโลกาภิวัตน์ส่งผลให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนห่างกันมากยิ่งขึ้น ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว แต่พวกเขาบอกว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแนวทางนี้ได้ “หากรัฐบาลของเรารู้อยู่แล้วว่าระบบที่เป็นอยู่ใช้ไม่ได้ผล ทำไมเราถึงยอมให้เราอยู่กันแบบนี้ต่อไป?” Joms Salvador กล่าว
​คาดว่าความตกลง RCEP จะมีเนื้อหาครอบคลุมข้อบทเกี่ยวกับการลงทุน หรือที่เรียกว่า “การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน” (investor state dispute settlement – ISDS) ซึ่งที่ผ่านมาได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งในบรรดาประเทศในความตกลง RCEP และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก “ISDS เปิดโอกาสให้บรรษัทต่างชาติสามารถฟ้องรัฐบาลซึ่งพยายามควบคุมกำกับการดำเนินงานของบรรษัท ไม่ว่าจะ เพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมก็ดี เพื่อให้บริการสาธารณะก็ดี เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนก็ดี หรือเพื่อใช้มาตรการที่ให้สิทธิพิเศษกับผู้หญิง ต้องถือว่าเป็นบรรษัทาธิปไตย ไม่ใช่ประชาธิปไตย” ปรานม สมวงศ์ ตัวแทน Protection International Thailand กล่าว
นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังมีโอกาสประชุมร่วมกับคณะเจรจาของรัฐต่างหาก โดยไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเจรจากับหน่วยงานธุรกิจเหล่านี้ ในการเจรจารอบที่ผ่านมาหน่วยงานธุรกิจมักได้รับเวลาในการเสนอความเห็นมากกว่าองค์กรภาคประชาสังคมเสมอ บางครั้งมีโอกาสพูดเต็มวัน

Misun Woo ผู้ประสานงานระดับภูมิภาคของสมาคมผู้หญิง กฎหมาย และการพัฒนาแห่งเอเซียแปซิฟิก (Asia Pacific Forum on Women, Law and Development – APWLD) กล่าวเสริมว่า
“เราผู้หญิงในฐานะประชาชนคืออำนาจอธิปไตยของชาติ เราต้องรู้ว่า RCEP คืออะไร ว่ามันคือข้อตกลงการค้าเสรีที่คำนึงถึงข้อตกลงของความต้องการของประชาชน หรือมีไว้เพื่อเอื้อประโยชน์ของบรรษัท การเจรจาที่ผ่านมาชี้ให้เห็นแล้วว่าเป็นอย่างหลังมากกว่า เพราะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะและมีแต่รัฐบาลและบรรษัทที่ได้ข้อมูลเท่านั้น”

“เราต้องยุติความไม่ตรงไปตรงมานี้ ผู้หญิงคือหัวใจของขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้าน WTO หรือองค์การการค้าโลก เราจะใช้พลังของประชาชนนี้เพื่อหยุดการเจรจา RCEP เพื่อกำหนดชีวิตและอนาคตของตนเอง

กลุ่มผู้หญิงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความตกลง RCEP ซึ่งใช้แนวทางการพัฒนาที่บ่อนเซาะชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ความตกลงการค้าเสรีและนโยบายการเปิดเสรี การแปรรูปเป็นของเอกชนและโลกาภิวัตน์เหล่านี้ ต่างส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่ด้านล่างทางเศรษฐกิจและโดยเฉพาะผู้หญิง เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการให้เกิดการค้าที่เป็นธรรมและเท่าเทียม ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการความร่วมมือระหว่างประเทศและภราดรภาพ เป็นการค้าที่จะเอื้อให้เกิดการพัฒนาที่เท่าเทียมและเป็นธรรม

เกี่ยวกับความตกลง RCEP
ความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค (RCEP) เป็นความตกลงการค้าระหว่างอาเซียนกับพันธมิตรการค้าหกประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เรามีเอกสารทั้งที่เป็นภาษาไทยและอังกฤษ ซึ่งวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของความตกลง RCEP ที่มีต่อผู้หญิง และโปรดดูวีดิโอรณรงค์ที่เน้นให้เห็นข้อกังวลเกี่ยวกับการเอาสิทธิมนุษยชนแลกกับการค้า

เกี่ยวกับ APWLD
สมาคมผู้หญิง กฎหมาย และการพัฒนาแห่งเอเซียแปซิฟิก (Asia Pacific Forum on Women, Law and Development – APWLD) เป็นเครือข่ายชั้นนำขององค์กรสตรีนิยมและนักกิจกรรมระดับรากหญ้าในเอเชียแปซิฟิก เรามีองค์กรสมาชิกกว่า 230 แห่ง ประกอบด้วยผู้หญิงที่หลากหลายจาก 27 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ในช่วง 31 ปีที่ผ่านมา APWLD ทำงานอย่างเข้มแข็งเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและความยุติธรรมของการพัฒนา เราเป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ใช่ของรัฐบาลและไม่แสวงหากำไร และมีสถานะเป็นที่ปรึกษากับคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ apwld.ngo Twitter:@apwld Instagram:apwld

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ
● Dinda Nuurannisaa Yura, Solidaritas Perempuan. E: nisaa@solidaritasperempuan.org; M: +62-818 1872 2510
● Suluck Lamubol, APWLD. E: fai@apwld.org; M: +66-969 133 983
● Neha Gupta, APWLD. E: neha@apwld.org; M: +66-955 282 396